Archive for กันยายน, 2011

–>> ประวัติจังหวัดพะเยา <<–

 

 

จังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบน มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ยาวนานไม่น้อยไปกว่าเมืองอื่นๆ ในอาณาจักรล้านนา บริเวณที่ตั้งของจังหวัดพะเยาในปัจจุบันอยู่ติดกับกว๊านพะเยา เดิมเป็นที่ตั้งของเมือง ภูกามยาว หรือ พยาว ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อพุทธศตวรษที่ 16 โดยมีผู้ปกครองคือ พ่อขุนงำเมือง ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจ และตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรล้านนา เมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองพะเยาอยู่ภายใต้การปกครองของจังหวัดเชียงรายในฐานะ อำเภอพะเยา และเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 อำเภอพะเยาได้ยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา นับเป็นจังหวัดที่ 72 ของประเทศไทย

ทำเนียบรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา

ลำดับ

รายนาม

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

1 นายสัญญา ปาลวัฒน์วิไชย 28 ส.ค. 2520-30 ก.ย. 2524
2 นายอรุณ รุจิกัณหะ 1 ต.ค. 2524-30 ก.ย. 2526
3 นายสุดจิตร คอวนิช 1 ต.ค. 2526-30 ก.ย. 2530
4 นายศักดา ลาภเจริญ 1 ต.ค. 2530-30 ก.ย. 2532
5 นายทองคำ เขื่อนทา 1 ต.ค. 2532-30 ก.ย. 2533
6 นายสวัสดิ์ ส่งสัมพันธ์ 1 ต.ค. 2533-30 ก.ย. 2536
7 นายวิจารณ์ ไชยนันทน์ 5 ต.ค. 2536-30 ก.ย. 2539
8 นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา 1 ต.ค. 2539-30 ก.ย. 2540
9 นายกำพล วรพิทยุต 20 ต.ค. 2540-29 ก.พ. 2543
10 นายสันต์ ภมรบุตร 1 มี.ค. 2543-30 ก.ย. 2543
11 นายพิพัฒน์ วงศาโรจน์ 1 ต.ค. 2543-30 ก.ย. 2545
12 นายสมศักดิ์ บุญเปลื้อง 1 ต.ค. 2545-30 ก.ย. 2546
13 นายบวร รัตนประสิทธิ์ 1 ต.ค. 2546-1 ธ.ค. 2548
14 นายวิทยา ปิณฑะแพทย์ 2 ธ.ค. 2548-30 ก.ย. 2549
15 นายธนเษก อัศวานุวัตร 13 พ.ย. 2549 – 5 พ.ค. 2551
16 นางสาวเรืองวรรณ บัวนุช 6 พ.ค. 2551 – 30 ก.ย. 2552
17 นายเชิดศักดิ์ ชูศรี 1 ต.ค. 2552 – 30 ก.ย. 2553
18 นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ 1 ต.ค. 2553 – ปัจจุบัน

รายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแบบแบ่งเขตของจังหวัดพะเยา

อาณาเขต

จังหวัดพะเยามีเนื้อที่ประมาณ 6,335 ตารางกิโลเมตร ตอนเหนือมีพื้นที่ติดกับจังหวัดเชียงราย ทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและจังหวัดน่าน ส่วนทางตะวันตกติดกับจังหวัดลำปาง และทางด้านใต้ติดกับจังหวัดแพร่

หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 68 ตำบล 790 หมู่บ้าน 2 เทศบาลเมือง 30 เทศบาลตำบล 39 องค์การบริหารส่วนตำบล

อำเภอ

  1. อำเภอเมืองพะเยา
  2. อำเภอจุน
  3. อำเภอเชียงคำ
  4. อำเภอเชียงม่วน
  5. อำเภอดอกคำใต้
  6. อำเภอปง
  7. อำเภอแม่ใจ
  8. อำเภอภูซาง
  9. อำเภอภูกามยาว
 

เทศบาล

อำเภอเมืองพะเยา

อำเภอจุน

อำเภอเชียงคำ

อำเภอเชียงม่วน

อำเภอดอกคำใต้

อำเภอปง

อำเภอแม่ใจ

อำเภอภูซาง

อำเภอภูกามยาว

การเดินทาง

ทางรถยนต์

ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ผ่าน

รถโดยสารประจำทาง

บริษัทขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารปรับอากาศและธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2

รถไฟและเครื่องบิน

ต้องลงที่จังหวัดลำปาง และจังหวัดเชียงใหม่ สำหรับทางรถไฟ ส่วนเครื่องบินให้มาลงที่จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง

สถานที่สำคัญ

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

 

แหล่งท่องเที่ยว

ข้าวหอมมะลิ

ข้าวหอมมะลิของจังหวัดพะเยาจัดอยู่ในสินค้าระดับ Premium Grade เพราะจะมีเพียงฤดูนาปีเท่านั้น จังหวัดพะเยามีดินดีที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก กล่าวคือ ดินเหนียวใกล้เชิงภูเขาไฟและเป็นดินจากภูเขาไฟที่ดิบสนิทแล้ว ทำให้ข้าวมีรวงแข็งแรง เมล็ดสมบูรณ์ใหญ่ยาว เมื่อสีข้าวแล้วจะได้ข้าวเมล็ดเรียวยาว ขาวเป็นมัน เมื่อหุงสุกแล้วจะเหนียวนุ่มกลิ่นหอมตามธรรมชาติคล้าย ๆ กับกลิ่นใบเตย แม้ทิ้งไว้นานก็ยังคงสภาพกลิ่นหอม หุงแล้วนุ่ม

ลำไย

ลำไยส่วนใหญ่ที่ปลูกในจังหวัดพะเยา คือ พันธุ์อีดอ ลักษณะผลใหญ่ รูปทรงแป้นเบี้ยว เนื้อหวานสีขาวขุ่นค่อนข้างเหนียว รสหวาน มีปริมาณน้ำตาลประมาณร้อยละ 18.7 ผลจะแก่เร็วกว่าผลพันธุ์อื่น ต้นเดือนกรกฎาคมก็เก็บผลผลิตได้ นิยมปลูกในทุกอำเภอ แหล่งที่ปลูกมากคืออำเภอเชียงคำและอำเภอจุน ผลผลิตส่วนใหญ่จะผลิตเป็นลำไยอบแห้งทั้งเปลือก

ลิ้นจี่

เนื่องจากสวนลิ้นจี่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพะเยาปลูกอยู่ระหว่างหุบเขาที่มีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปีและปลูกในดินที่มีปริมาณธาตุโพแทสเซียมสูง ส่งผลให้ลิ้นจี่ของจังหวัดพะเยามีลักษณะเด่น คือ ลูกใหญ่ สีผิวสวยตามชนิดพันธุ์ รสชาติหวาน เนื้อแห้งกรอบ ไม่มีน้ำมาก เมื่อแกะรับประทานสด สามารถเก็บเกี่ยวได้ก่อนจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือ

การศึกษา

อุดมศึกษา

โรงเรียน

วิทยาลัยเทคนิคพะเยา เป็นสถาบันการศึกษาทางอาชีวศึกษา เปิดสอนในระดับ ปวช.และปวส. ตั้งอยู่ที่ 355 หมู่ 11 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา ถนนสนามกีฬา ห่างจากศูนย์ราชการประมาณ 1 กิโลเมตร

โรงภาพยนตร์

Thana Cineplex

  • พะเยา (1)
  • เชียงคำ (1) ปัจจุบันปิดบริการแล้ว

 

Leave a comment »